วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สรุปองค์ประกอบของสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ


1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์

2. ซอฟต์แวร์

3. ข้อมูล

4. บุคลากร

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน


ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ



ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
- ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
- บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
- ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
1. ฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ
- หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
- หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
- หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ จะพบว่าคล้ายกัน กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากประสาทสัมผัส ก็จะส่งให้สมองในการคิด แล้วสั่งให้มีการโต้ตอบ
2. ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI)ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับ บุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่า จ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
1.) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
2.) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล


3. ข้อมูล
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวด เร็วมีประสิทธิภาพ


4. บุคลากร
บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบ สารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมาก ขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความ ต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากร ในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน


5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน


ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้ งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับ เครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

ที่มา http://group-4-405.blogspot.com/2012/04/blog-post.html

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

RESPONSIVE WEB DESIGN คืออะไร

ปัจจุบันผู้คนเปิดเว็บจากเครื่องมือแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นมือถือ, แท็บเล็ต, หรือโน้ตบุ๊ก ซึ่งเมื่อก่อนเรามองแค่ว่าขนาดหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าไรบ้าง ขนาดเล็กสุดน่าจะเป็นเท่าไร แล้วต้องทำเว็บไซต์ขนาดไหนถึงจะดี (เมื่อก่อนมองว่า 1024×768 px นี่ดีครับ เลยสร้าง Layout ขนาด 960px ขึ้นมา อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ CSS Framework: 960gs )
ตอนนี้เราไม่ได้สนใจแค่ขนาดจอคอมแล้ว ต้องสนใจขนาดหน้าจอของมือถือ Smart Phone รุ่นต่าง ๆ ซึ่งความละเอียดก็ต่างกัน แล้วยังมี Tablet ที่มีหน้าจอตั้งแต่ 7 นิ้วยัน 10 นิ้วโผล่มาอีก การจะทำหน้าเว็บใหม่สำหรับมือถือหรือแท็บเล็ตเลยก็จะมีปัญว่าดูแลได้ยาก เวลาเปลี่ยนเนื้อหาทีต้องมาเปลี่ยนสองที่ เลยเกิดเทคนิค Responsive Web Design ขึ้นมา เพื่อให้หน้าเว็บเดียวสามารถแสดงผลในรูปแบบต่างกัน ให้เข้ากับขนาดหน้าจอของเครื่องที่ใช้เปิดเว็บได้
อันนี้เป็นตัวอย่างของเว็บที่เป็น Responsive ถ้าอ่านคำอธิบายด้านบนไม่รู้เรื่อง ดูรูปประกอบเลยค่ะ 
จะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหนของเว็บไซต์ก็จะมีเนื้อหาเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่การจัดวาง ของ Mobile (มือถือ) ด้วยขนาดหน้าจอที่เล็กก็จะจัดวางเป็นบล็อค ๆ เรียงลงมาให้อ่านง่าย ไม่ต้องซูม แต่สำหรับของ Tablet หรือ PC ที่มีหน้าจอใหญ่ ก็จะจัดเรียงให้ดูสวยงาม ขนาดตัวอักษรเหมาะสมเท่าขนาดจอ ซึ่งทุกเวอร์ชั่นนี้เกิดขึ้นจากหน้าเว็บเดียวกัน ไม่มีการทำหน้าเว็บใหม่ 4 เวอร์ชั่น

RESPONSIVE WEB DESIGN ทำอย่างไร

เวลาพูดถึง Responsive Web Design เนี่ย เราพูดถึง เทคนิคต่าง ๆ ที่ช่วยให้หน้าเว็บปรับเปลี่ยนการแสดงผลตามขนาดหน้าจอ 
เพราะฉะนั้นมันจะแยกย่อยเป็นเทคนิคสำหรับการแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น เทคนิคแสดงรูปแบบ Low Resolution บนมือถือ (เพื่อให้โหลดเร็วขึ้น เพราะอินเตอร์เน็ตมือถือ เช่น EDGE จะช้ากว่าเน็ตในคอม) หรือ เทคนิคซ่อนเนื้อหาบางส่วนในเว็บบนมือถือ
วันนี้จะมาแนะนำเทคนิคหลักของ Responsive Web Design ซึ่งถ้าเข้าใจเรื่องนี้จะสามารถนำไปทำ Responsive Web Design ได้ 80% แล้ว (อีก 20% คือเก็บรายละเอียดอื่น ๆ ที่อาจต้องใช้เทคนิคอื่นมาช่วย) นั่นก็คือ Media Query!!

CSS3 MEDIA QUERY คืออะไร ดีตรงไหน

คนที่เคยเขียน HTML/CSS คงรู้จักโค้ดนี้ดีใช่มั้ยคะ
ในที่นี้คือมี CSS 2 ไฟล์ โดยไฟล์ core.css จะใช้กับการแสดงผลบนหน้าจอ (media=”screen”) และ print.css จะใช้กับตอนสั่งปรินท์ (media=”print”) ซึ่งโดยปกติแล้ว CSS สำหรับปรินท์จะทำให้สะอาดตา ไม่มีส่วนที่รกหน้ากระดาษ เช่น Sidebar หรือ Background สีสด ๆ
ด้านบนเป็นความสามารถที่มีมาตั้งแต่ CSS2 แล้วครับ พอมาถึง CSS3 ทาง W3C ซึ่งเป็นคนกำหนดสเปคของ CSS3 ก็ได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า Media Query ขึ้นมา โดยแทนที่กำหนดได้แค่ว่า อันนี้ใช้กับหน้าจอนะ อันนี้ใช้กับกระดาษนะ เราก็สามารถกำหนดเพิ่มได้อีก เป็น “ใช้กับหน้าจอที่มีขนาดสูงสุด 480px” หรือ “ใช้กับหน้าจอที่เป็นขาวดำ” หรือ“ใช้กับหน้าจอแนวนอน”
ซึ่งความสามารถทั้งหมดของมันสามารถไปอ่านได้ที่ W3C: Media Query ได้เลย ต่อไปดิฉันจะมาแนะนำวิธีใช้ CSS3 Media Query กันค่ะ ใช้ไม่ยากเลย

สอนวิธีใช้ CSS3 MEDIA QUERY

อย่างที่บอกไว้เมื่อครู่ ว่า CSS3 Media Query เป็นการกำหนด “กฏ” ในการแสดงผลขึ้นมาเช่น “แสดงผลกับหน้าจอ ขนาด 480px” หรือ “แสดงผลกับหน้าจอ แนวนอน” มาดูกันว่าเราจะตั้งกฏได้ยังไง
การตั้งกฏ CSS3 Media Query นี่สามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีแรก คือใส่ในแท็ก link เพื่อเรียกโหลดไฟล์ที่เราต้องการเลย เช่น
(ไม่ต้องตกใจกับตรง media=”only screen and (max-device-width: 480px)” 
วิธีที่ 2 ในการใส่ CSS3 Media Query ก็คือ ใส่ลงไปในไฟล์ CSS ตรง ๆ แบบนี้เลยค่ะ
  1. @media screen and (min-width: 800px) and (max-width: 1200px) {
  2. .test {
  3. font-size: 14pt;
  4. }
  5. }
ซึ่งวิธีที่ 2 จะเหมาะกับการแก้ส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องสร้างไฟล์ CSS ใหม่มารองรับ
ทีนี้หลายท่านที่เห็นโค้ดด้านบน คงพอเดาวิธีใช้ออกแล้วใช่มั้ยคะ Media Query คือส่วนที่เติมเข้าไปหลังคำว่า screenนั่นเองที่ใช้กำหนดกฏในการแสดงผล และสามารถตั้งได้หลายกฏ แค่ใส่ and เพื่อเชื่อมระหว่างแต่ละกฏ ตามรูปแบบนี้นั่นเอง
  1. @media screen and (กฏ 1) and (กฏ 2) and ... {
  2. /* CSS ที่ต้องการใส่ถ้าเครื่องตรงตามกฏด้านบน */
  3. }
ต่อไปเรามาดูกันว่ามีกฏของ Media Query ไหนบ้างที่เราควรรู้:
  1. max-width: __ px / min-width: __ px / max-height: __ px / min-height: __ px : 4 อันนี้คือความกว้าง-ยาวสูงสุด/ต่ำสุด (แต่ปกติเค้าจะกำหนดกันแค่ความกว้างนะคะ) จะเช็คตามขนาดหน้าจอของ Browser เช่น ถ้าเราเปิด Google Chrome เต็มจอ มันก็จะมองว่าค่า width ตอนนี้เต็มจอ แต่ถ้าย่อเหลือครึ่งจอมันก็จะมองว่าค่า width เราน้อยลง
    เช่น
    @media screen and (max-width: 600px)
  2. max-device-width: __ px / min-device-width: __ px / device-width: __ px : ค่า device-width จะแตกต่างกับ width เฉย ๆ ตรงที่มันจะดูขนาดหน้าจอเครื่องแทนเหมาะมากเวลาเราต้องการเจาะจงเครื่องที่เรารู้ขนาดหน้าจอของมันอยู่แล้ว
    เช่น เรารู้ว่า iPhone 3GS ความละเอียด 320x480px จะเขียนโค้ดได้ว่า
    @media screen and (device-width: 320px)
  3. orientation: portrait / orientation: landscape : ค่า orientation เป็นการเช็คว่าหน้าจออยู่ในแนวไหน เวลาเปิดเว็บใน Tablet บางทีเราก็เปิดแนวตั้ง (portrait) หรือบางทีก็เปิดแนวนอน (landscape) ตัวนี้จะช่วยให้กำหนด CSS สำหรับแนวที่ต้องการได้ค่ะ (ตามปกติ แนวนอนจะเห็นเนื้อหาได้มากกว่าค่ะ
    @media screen and (orientation: landscape)
  4. aspect-ratio: __/__, device-aspect-ratio: __/__ :  ค่า aspect ratio เป็น Ratio กว้าง/สูง ของขนาดจอ เช่น 16/9 หรือ 1280/720 เป็นต้น
    เช่น
    @media screen and (aspect-ratio: 16/9)
  5. min-color: _ / max-color: _ / color: _ : ค่าจำนวนบิทต่อสีที่เครื่องใช้แสดงผลถ้าเครื่องไหนไม่มีสีก็จะเป็น 0 เช่น
    @media screen and (min-color: 2)
  6. max-resolution: __dpi / min-resolution: __dpi / resolution: __dpi : ค่าความละเอียดของหน้าจอ เอาไว้ใช้แยกแยะหน้าจอความละเอียดสูง เพื่อแสดงรูปที่มีความละเอียดสูงได้
    เช่น
    @media screen and (max-resolution: 300dpi)
กฏต่าง ๆ ที่น่าสนใจมีเพียงเท่านี้ค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง http://www.designil.com/what-is-responsive-web-design-1.html