วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หน้าจอและส่วนประกอบต่างๆ ของ Illustrator CS



1. Menu Bar เมนูบาร์เป็นรายการคำสั่ง

2. Toolbox ทูลบ็อกซ์เป็นแถบเครื่องมือ

3. Artwork อาร์ตเวิร์คเป็นพื้นที่ทำงาน

4. พื้นที่รอบนอกพื้นที่ทำงาน ไว้วางภาพหรือข้อความชั่วคราวได้

5. Palette พาเลตต์เป็นแถบเครื่องมือต่างๆ ช่วยเสริมการทำงาน เช่น เครื่องมือสี



การแสดงหรือซ่อนเครื่องมือของ Illustrator CS

เครื่องมือหรือพาเลตต์ต่างๆ สามารถซ่อนหรือแสดงให้ปรากฏบนหน้าจอได้โดย

1. คลิกเมนู Windows

2. คลิกติ๊กถูกหรือเอาถูกออกหน้าชื่อเครื่องมือที่ต้องการแสดงหรือซ่อนไว้

3. เครื่องมือต่างๆ

4. คลิกปุ่ม x เพื่อปิดเครื่องมือ



ตัวอย่างงานที่สร้างด้วย Illustrator CS

เป็นตัวอย่างงานที่สามารถสร้างด้วยโปรแกรมนี้ได้ มีหลายแบบ ดังภาพ

ทำความรู้จักโปรแกรม Illustrator CS



โปรแกรมสร้างภาพกราฟิคแบบเว็คเตอร์ ที่มีความโดดเด่นในการวาดภาพ ออกแบบภาพได้ค่อนข้าง อิสระ เช่น การวาดภาพคน สัตว์ สิ่งของ ออกแบบโลโก้เครื่องหมายการค้า ตรา สัญลักษณ์ การสร้างงานหรือ ภาพประกอบในการผลิตสิ่งพิมพ์ สร้างภาพประกอบสำหรับเว็บไซท์ เป็นต้น
การติดตั้งโปรแกรม Illustrator CS 
ตัวโปรแกรมนี้ ทางผู้ผลิตได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซท์ www.adobe.com เป็นโปรแกรมให้ ทดลองใช้งานได้แค่ 30 วัน (Trial) ตัวโปรแกรมราคาเป็นหมื่น แล้วใครจะให้ฟรีๆ ละครับ ก็ต้องให้ลองใช้ ยั่วน้ำลายกันไปก่อน เผื่อถ้าถูกใจ ลูกค้าอาจจะซื้อ
1. เข้าโปรแกรม Windows Explorer เพื่อดูข้อมูลที่ได้ดาวน์โหลดมา
2. ไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ไว้
3. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ชื่อ Setup.exe ซึ่งเป็นไฟล์ที่ช่วยในการติดตั้งโปรแกรม
4. ทำตามคำแนะนำในการติดตั้งไปเรื่อยๆ

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนในการถ่ายภาพยนตร์สั้น



ขั้นที่1 หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ


การตัดต่อ การประเมินผล


ขึ้นที่2 หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสามารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิคครับ


ขั้นที่3 เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ


ขั้นที่4 บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา


เรื่องบทนี้จะมี หลายแบบ


– บทแบบสมบูรณ์ ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูดครับ


– บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง


– บทแบบเฉพาะ


– บทแบบร่างกำหนด


ขั้นที่5 การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้


ขั้นที่6 ค้นหามุมกล้อง


– มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ


– มุมแทนสายตา


– มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ครับ






ขั้นที่7 การเคลื่อนไหวของกล้อง


– การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถุนั้นสัมพันกันครับ


– การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลยครับ


– การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง


ขั้นที่8 เทคนิคการถ่าย


เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่นนะครับ อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ


และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ


ขั้นที่9 หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอ็ฟเฟก ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ


ขั้นที่10 การตัดต่อ


อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารมณ์


อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้ครับ


อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่องครับ


อย่างสี่ เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม


เทคนิคการถ่ายวีดีโอ





ปัจจุบันกล้องวีดีโอมีอยู่หลายประเภท เช่น แบบ Handycam(กล้องขนาดเล็ก) กล้องแบบมืออาชีพ(ขนาดใหญ่) แต่หลักการและเทคนิคการถ่ายจะเหมือนๆกัน


ก่อนอื่นเรามาทราบถึงประเภทของสื่อที่ใช้บันทึกภาพของกล้องวีดีโอก่อนว่าปัจจุบันมีอยู่กี่แบบ


1.แบบใช้ม้วนเทป ปัจจุบันเหลือเพียง miniDV เป็นส่วนใหญ่


2.แบบใช้แผ่น ซึ่งจะใช้แผ่น mini DVD เป็นตัวเก็บข้อมูล


3.แบบใช้ Hard Disk ปัจจุบันมีให้เลือกหลายขนาดของความจุ เช่น 30 GB, 60 GB ต้น


4.แบบใช้ Memory card เช่น SD, Memory Stick, XDcard เป็นต้น


เทคนิคการถ่าย


1. อย่าถ่ายแช่นานเกินไป


2.อย่ายกกล้องไปมาแทนสายตา


3.ถ้าเหตุการณ์นั้นยังไม่สิ้นสุด อย่าหยุดถ่ายกลางคัน


4.อย่าZoom หรือ Pan ขณะถ่าย บ่อยเกินไป


5.หาจุดจบที่ทำให้สนใจ


6.พยายามมองหาจุดที่น่าสนใจรอบๆตัวเพื่อจะได้ไม่พลาดเหตุการณ์สำคัญ


หลักการง่ายๆแค่นี้ ท่านก็จะได้ภาพที่ดูดี ระดับมืออาชีพแล้ว


7. ถือกล้องให้นิ่ง อย่าสั่น เทคนิคง่ายๆคือกลั้นหายใจ หรือหายใจเบาๆ ขณะที่กด record






เทคนิคการถ่ายวีดีโอให้นิ่งที่สุด โดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง





ส่วนใหญ่แล้วช่างภาพวีดีโอมือสมัครเล่นทั่วไป จะชอบถือกล้องในแบบที่ถนัดที่สุด แบบที่สบายที่สุด และแบบที่ถือแล้วไม่เมื่อย แต่มุมมองที่ออกมา ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แถมภาพสั่นยังกะอยู่ในคลื่นกลางทะเล วิธีที่จะทำให้วีดีโอนั้นไม่สั่นก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องนะครับ ขาตั้งกล้องช่วยได้มากทีเดียว และต้องเป็นหัวแพนด้วย ถ้าเป็นหัวบอล ใช้สำหรับกล้องถ่ายภาพนิ่งนะครับ แต่ถ้าเกิดว่าเราไปเที่ยว ถือแค่กล้องถ่ายวีดีโอไปตัวเดียว ไม่อยากเอาขาตั้งกล้องไปด้วย มันใหญ่และเกะกะมาก ผมมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆครับ ที่จะทำให้ได้มุมมองที่สวย และจับถือได้นิ่งมากๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเลย ขั้นตอนแรกนะครับ ให้ท่านจับกล้องด้วย 2 มือ กุมกล้องไว้ในมือทั้ง 2 จากนั้นยืดแขนออกไปให้สุด เพื่อฟิตกล้ามเนื้อก่อน ซัก 3-5 รอบ แล้วก็เอากล้องมาชิดที่หน้าท้อง ติดหน้าท้องเลยนะครับ ดันให้แน่นๆ เสยมุมกล้องขึ้นบนนิดหน่อยพอสวยงาม จากนั้นก็บิดจอ LCD ขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้มองเห็นจอภาพถนัดๆ จากนั้นก็กด Record ได้เลย ในระหว่างที่ถ่ายอยู่ ต้องใช้มือทั้ง 2 ที่กุมกล้องอยู่ ดันกล้องให้ติดหน้าท้องนะครับ รับรองได้ว่า วีดีโอที่ออกมา สวยและนิ่งใช้ได้เลยครับ แต่ถ่ายไปนานๆ จะรู้สึกเมื่อยนะครับ เพราะต้องกดกล้องเข้าหาหน้าท้องตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากถ่ายนานๆใช้ขาตั้งหรือโต๊ะ หรือหาอะไรที่มันพอจะวางกล้องได้มันจะดีกว่านะครับ ลองเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้กันดู หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับสมาชิกทุกท่านครับ









การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น


การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ หรืออะไรที่ทำให้เกิดความคิด จินตนาการ การสร้างสรรค์ คือการนำเรื่องราวมาประสมประสานกันให้เป็นเรื่องขึ้นมา ความพยายามเท่านั้นทำให้เกิดความสำเร็จ ขอให้ศึกษาในบทภาพยนตร์ต่อไป


ที่มา https://joynaka23.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A0/

ความรู้เบื้องต้นในการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น


ความรู้เกี่ยวกับการทำภาพยนตร์สั้น


บทเรียน

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)

เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)

หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)

คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)

เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

5. บทภาพยนตร์ (screenplay)

สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

6. บทถ่ายทำ (shooting script)

คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง

7. บทภาพ (storyboard)

คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของ

ช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียง

การถ่ายทำหนังสั้น


Production(การถ่ายทำ)

Production(การถ่ายทำ)

เมื่อเราเตรียมงานถ่ายกันแล้วนะครับ คราวนี้จะมาถึงการ Production ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ต้องไม่ให้เกินเวลาที่กำหนดและงานต้องออกมาดีที่สุด ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมงานว่าเตรียมมาดีแค่ไหน

ในขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์(Production) จะมีตำแหน่งต่างๆดังนี้
ผู้กำกับ Director - เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวในภาพยนตร์ กำหนดทิศทางของหนัง อารมณ์ของหนัง
ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant - คอยเป็นผู้ช่วยในทุกเรื่อง ต้องรู้มากกว่าผู้กำกับ ซ้อมบทนักแสดง จัดคิวถ่าย ควบคุมเวลาให้ไม่เกินกำหนด ดำเนินงานการถ่ายทำ
ผู้จัดการกองถ่าย Producer - จัดหาทุกอย่างที่กองถ่ายต้องการ ตั้งแต่สถานที่ถ่ายทำ โรงแรม อาหาร เครื่องดื่ม นักแสดง
ผู้กำกับภาพ Director of Photography - กำหนดภาพที่จะเห็นในจอ กำหนดทิศทางแสง การเคลื่อนกล้อง ขนาดภาพ
ผู้กำกับศิลป์ Art Director - จัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากทุกอย่างที่ต้องอยู่ในฉากนั้นๆ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
ผู้บันทึกเสียง Sound location - บันทึกเสียงในภาพยนตร์ ตั้งแต่เสียงพูด เสียงบรรยากาศ ต้องควบคุมให้พอเหมาะ ไม่มีเสียงรบกวนมากเกินไปและต้องฟังชัดเจน
ผู้ดูแลเสื้อผ้า/แต่งหน้า Custome/Makeup - จัดเตรียมเสื้อผ้าที่จะใช้ในฉาก ให้เหมาะสมกับนักแสดง แต่งหน้าให้เข้ากับอารมณ์ของหนังและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในฉาก

:: นี่คือตำแหน่งที่ควรจะมีในการถ่ายหนังสั้น อาจจะทำควบกันก็ได้ เช่น เป็นทั้งผู้กำกับ และ ผู้กำกับภาพ


การกำหนดขนาดภาพในภาพยนตร์
ECU ( Extreme Close Up) - ลักษณะภาพแบบนี้จะเป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ ใช้ขับเน้นรายละเอียด หรือใช้เน้นและจับความรู้สึกของตัวละครนั้นให้เด่นออกมา และ ให้ความรู้สึกกดดัน เช่นภาพที่จับแค่ดวงตา หรือ ริมฝีปากตัวละคร
CU (Close Up) - ขนาดของวัตถุในภาพจะเล็กกว่า ECU มองเห็นใบหน้าทั้งหมดลักษณะการใช้งานคล้ายกับ ECU ให้ความรู้สึกกดดันแต่จะน้อยกว่า ECU
MCU (Medium Close Up) - จับภาพตั้งแต่ช่วงอกขึ้นไป เพื่อจะได้เห็นท่าทางของตัวนักแสดงได้มากขึ้น
MS (Medium Shot) - เป็นการถ่ายตัวแสดงครึ่งตัวจากเอวขึ้นไป ใช้สำหรับถ่ายทอดท่าทางของตัวนักแสดง โดยที่ไม่มีผลของการเร้าอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นภาพขนาดปกติที่นิยมใช้กัน
MLS (Medium Long Shot) - คล้าย MS โดยที่กล้องจะเก็บภาพไม่เต็มตัว(แต่ก็เกือบจะเต็มตัว) ระยะภาพแบบนี้เริ่มจะกันคนดูออกมาเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์
LS (Long Shot) - เป็นการถ่ายที่จะเก็บภาพตัวแสดงเต็มตัว พร้อมๆกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง
ELS (Extreme Long Shot) - เป็นการถ่ายเพื่อให้เห็นบรรยากาศของสถานที่ เช่น การนำกล้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ถ่ายบรรยากาศเมือง



:: นี่คือตัวอย่างขนาดภาพในภาพยนตร์นะครับ ลองนำไปปรับใช้ดูได้
:: การกำหนดขนาดภาพในภาพยนตร์สำคัญมาก เพราะจะเป็นการเล่าอารมณ์ผ่านภาพได้


ในการถ่ายภาพยนตร์ส่วนใหญ่นั้นจะเปิดฉากด้วยภาพขนาด LS เพื่อให้เห็น1บรรยากาศของสถานที่นั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินเรื่อง ต่อจากนั้นก็จะมาใช้ภาพขนาด MS เพื่อให้เห็นการกระทำของตัวละคร จากนั้นจะใช้ภาพขนาดMCU - CU เพื่อให้เห็นหน้านักแสดงในขณะที่สนทนากัน จะมีการถ่าย 2 แบบ คือการถ่ายหน้าตรง หรือ การถ่ายผ่านไหลโดยที่นักแสดงหันหน้าเข้าหากัน



อ้างอิง
อนุกูล วิมูลศักดิ์. ขนาดภาพ [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก : http://www.thaicine.com/wboard/maintopic.php?GroupID=64&Begin=50&ID=5317http://www.thaicine.com/wboard/maintopic.php?GroupID=64&Begin=50&ID=5317

เทคนิคการตัดต่อบนมือถือ

KineMaster-video-editor-androidการตัดต่อวีดีโอนั้นหลายท่านจะเลือกใข้ตัดต่อวีดีโอบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถจัดการวีดีโอได้ดีและโปรกว่า ส่วนผู้ใช้ iPhone หรือ iOS ก็ง่ายหน่อย เพราะมีแอพ iMovies ที่ช่วยในการตัดต่อวีดีโอดีอยู่แล้ว ส่วนฟาก Android แม้มีแอพตัดต่อวีดีโอหลายแอพแต่ที่ผ่านมาความสามารถอาจไม่เทียบเท่าทางฝั่ง Apple อย่าง iMovies มากนัก แต่ล่าสุดเราได้พบแอพตัดต่อวีดีโอคุณภาพระดับโปร ซึ่งสามารถดาวน์โหลดใช้ฟรีบนมือถือ Android ด้วย
KineMaster-video-editor-android-01แอพตัดต่อวีดีโอบนมือถือและแท็บเล็ต Android นี้ มีชื่อว่า KineMaster  เป็นแอพตัดต่อวีดีโอแบบเต็มรูปแบบตั้งแต่การใส่วีดีโอ การใส่เพลงประกอบ เสียง effect การใส่ภาพลอย การเปลี่ยนภาพ การใส่ตัวอักษร หรือแม้กระทั่งการหมุนวีดีโอแนวตั้งแนวนอน แอพนี้สามารถทำได้หมด และรองรับการอัดเสียง สำหรับการลงเสียงบรรยายวีดีโอบนมือถือได้ด้วย
แอพ Kinemaster นี้สามารถใช้ได้กับมือถือ Android 4.1 ขึ้นไป อย่างต่ำเช่น Samsung galaxy S3 , Samsung Galaxy Grand และมือถือรุ่นอื่นที่เป็นสเปคปานกลาง จนถึงสเปคสูง สำหรับกรณี Samsung Galaxy Note3 แอพนี้แนะนำให้ผู้ใช้ Note 3 อัพเดตเป็นเฟิร์มแวร์ล่าสุด และสามารถใช้ตัดต่อได้ฟรี แต่จะติดลายน้ำของตัวตัดต่อโปรแกรมไว้ หากต้องการที่จะเอาลายน้ำออก ต้องเสียเงินสมัครใช้บริการ  สามารถดาวน์โหลดใช้งานฟรีทาง Google Play 

ที่มา http://www.it24hrs.com/2014/kinemaster-android-video-editor/

เทคนิคถ่ายวีดีโอง่ายๆ



1. คิดและวางแผนก่อนถ่ายวีดีโอ

ก่อนที่เราจะถ่ายวีดีโอในเหตุการณ์หรืองานอะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องคิดและวางแผนก่อนว่า เราต้องการที่จะนำเสนออะไรในวีดีโอของเรา เช่น ผมไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดกับกลุ่มเพื่อนๆ ผมต้องการถ่ายวีดีโอที่เก็บบรรยากาศทั้งหมดว่าไปเที่ยวที่ไหนมาบ้าง มีกิจกรรมอะไรที่ทำบ้าง และบรรยากาศในขณะนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เราสามารถเขียนออกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้

- ป้ายสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และสภาพแวดล้อม เพื่อจะได้รู้ว่าไปเที่ยวที่ไหนกัน และเป็นอย่างไรบ้าง







- บรรยากาศในขณะนั้น เช่น อาจจะถ่ายวีดีโอ candid เพื่อนๆ







- มีกิจกรรมอะไรที่ทำบ้าง เช่น แวะซื้อของ เดินป่า เล่นน้ำตก







เมื่อเราแยกย่อยลงไปในแต่ละช็อต เราก็ต้องคิดอีกทีครับว่า เราจะจัดวาง composition ในการถ่ายวีดีโอเป็นอย่างไร ให้ตรงกับความต้องการของเรา เช่น ในขณะที่กำลังนั่งเรือ เราอยากจะให้เห็นบรรยากาศเพื่อนๆในขณะนั่งเรือพร้อมกับวิวทิวทัศน์







2. โฟกัสจุดที่เราสนใจในการถ่ายวีดีโอ

ก่อนที่เราจะกดบันทึกวีดีโอ เราจะต้องรู้ตัวเองดีว่า ในช็อตนี้เราต้องการที่จะถ่ายอะไร เราจะต้องถ่ายให้สำเร็จก่อนที่จะไปถ่ายสิ่งอื่นๆ เช่น ในขณะที่เรากำลังถ่ายเพื่อนของเราในงานรับปริญญาอยู่ เพื่อนของเรากำลังยืนถ่ายรูปกับเพื่อนๆอยู่ ขณะที่เรากำลังถ่ายวีดีโออยู่ มีผู้หญิงสวยคนหนึ่งเดินผ่านเราไป เราจะต้องถ่ายวีดีโอเพื่อนเราให้เสร็จก่อนที่จะหันกล้องไปถ่ายผู้หญิงสวยคนนั้น (ถ้าเดินไปไกลแล้วก็ถือว่าไม่ได้เป็นเนื้อคู่กัน ^ ^ )



จุดประสงค์หลักในข้อนี้ คือ ต้องการให้เรามีสมาธิในการถ่าย เพราะจะทำให้การจัดวาง composition มีความแน่นอน และกล้องก็จะไม่สั่นด้วย

3. ความยาวของวีดีโอในแต่ละช็อต

ธรรมชาติของคนเราเมื่อดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตาของคนเราจะจดจ้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่นิ่งๆได้ไม่นาน เช่น เราดูวีดีโอการบรรยายของวิทยากร ถ้าการถ่ายวีดีโอมีเพียงการถ่ายเฉพาะวิทยากรที่กำลังนั่งบรรยายอยู่ (uncut video) เราดูได้ซักพักก็จะรู้สึกเบื่อ ง่วงนอน นั่นคือธรรมชาติของคนครับ



เราไม่ควรจะตัดต่อวีดีโอในแต่ละช็อตให้ยาวนานเกินไป ควรจะตัดต่อวีดีโอจากการถ่ายวีดีโอหลายๆมุม เช่น normal view + bird eyes view + worm view และใช้รูปแบบการถ่ายหลายๆรูปแบบ เช่น wide shot + medium shot + close up ผสมผสานกันไป เวลาตัดต่อวีดีโอก็ตัดสลับไปมาระหว่างช็อตต่างๆ เช่น ในขณะที่วิทยากรกำลังบรรยาย เราก็อาจเอาบรรยากาศคนกำลังนั่งฟังเข้ามาแทรก (cutting shots) เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของคนดู



นอกจากนี้แล้ว พวก cutting shots ยังสามารถใช้สื่อความหมายของเหตุการ์ที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น ช็อตแรกเป็นหนูกำลังมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ทำให้ไม่กล้าลงไป ตัดมาช็อตที่สองเป็นรูปงู เป็นการสื่อความหมายว่าที่หนูไม่กล้าลงไปเพราะมีงูอยู่ด้านล่างนั่นเอง



4. ใบหน้าถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีที่สุด

ถ้าเราต้องการจะสื่อสารถึงอารมณ์ของตัวละครในฉาก สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ดวงตา เพราะดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ปกติการถ่ายวีดีโออาจจะเริ่มที่ wide shot เพื่อให้เห็นบรรยากาศโดยรวมในขณะนั้น ฉากต่อมาอาจจะเป็น medium shot ระหว่างคนสองคนกำลังคุยกัน แต่พอเมื่อถึงจังหวะที่ต้องการจะสื่อสารถึงอารมณ์ในตัวละคร เช่น กำลังมีความสุข เศร้า หรือกำลังคิดวางแผนอะไรอยู่ เราจะต้องถ่ายวีดีโอแบบ close up เพื่อให้เห็นดวงตาที่ชัดเจนของผู้พูด

5. ซูมด้วยเท้าก่อนเป็นอันดับแรก

ยิ่งมีการใช้การซูมมากเท่าใด กล้องวีดีโอก็จะยิ่งมีความสั่นมากขึ้นเท่านั้น เป็นผลให้วีดีโอของเราไม่สามารถดูได้ เคยมีคนเคยคำนวณเอาไว้ว่า ถ้าเราซูมเข้าไป 10 เท่า การสั่นของกล้องวีดีโอก็จะเกิดขึ้น 10 เท่า

อันดับแรกที่จะแนะนำ คือ ใช้วิธีการเดินเข้าไปหาวัตถุแล้วถ่ายวีดีโอ โดยปรับค่าการซูมเป็นแบบกว้างที่สุด วิธีนี้ถึงแม้ว่ามือของเราจะสั่นเล็กน้อยในขณะทำการถ่าย แต่เนื่องจากกล้องวีดีโอมีระบบ image stabilization อยู่ จะทำให้มองไม่เห็นการสั่นเล็กน้อยเหล่านี้



ถ้าเราไม่สามารถเดินเข้าไปถ่ายวัตถุใกล้ๆได้ เช่น ถ่ายวีดีโอสัตว์ที่อยู่ในกรง ให้เราใช้ขาตั้งกล้องวีดีโอช่วย โดยเราต้องเลือกขาตั้งกล้องให้เหมาะกับกล้องวีดีโอของเราด้วย



กล้องวีดีโอจะมีระบบการซูม 2 แบบ คือ Optical zoom and Digital zoom ให้เราปิดการทำงานแบบ Digital zoom เพราะว่ามันเป็นการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งส่งผลให้คุณภาพที่ได้จากวีดีโอลดน้อยลง



การซูมยังมีผลต่อระบบโฟกัสอีกด้วย โดยเฉพาะระบบ auto focus เมื่อเราทำการซูมไปที่วัตถุหนึ่ง เมื่อวัตถุนั้นมีการเคลื่อนที่ กล้องวีดีโออาจจะเกิดการเบลอเป็นช่วงๆ เนื่องมาจากการซูมจะทำให้มีโอกาสหลุดโฟกัสสูง

6. Move – Point – Shoot – Stop

หลักการถ่ายวีดีโอง่ายๆมีอยู่ 5 ข้อครับ คือ

- Move เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เราคิดว่า จะได้ช็อตที่ตรงกับความต้องการของเรา เช่น ถ้าเราต้องการถ่ายวีดีโอคู่บ่าวสาวเดินเข้ามาในงาน ให้ดูแล้วได้อารมณ์แบบยิ่งใหญ่ เราก็ต้องไปอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าคู่บ่าวสาว แล้วย่อตัวลงถ่ายวีดีโอในมุม worm view



- Point หลังจากได้ตำแหน่งแล้ว ให้เราทำการจัด composition ของเราให้เรียบร้อยก่อนที่จะถ่าย ในบางช่วงเวลาเราจะต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นช็อตที่ต่อเนื่องกันมา ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการถ่ายวีดีโอของเราเอง เช่น จากตัวอย่างด้านบน ถ้าเราจัด composition ได้ช้า เราก็จะได้ช็อตที่คู่บ่าวสาวก็จะเดินมาถึงเราสั้นๆ ทำให้การตัดต่อวีดีโออาจจะไม่ค่อยสวยงามเท่าไร



- Shoot หลังจากจัด composition แล้ว เราก็จะเริ่มถ่ายวีดีโอ โดยส่วนมากแล้วเราจะตั้งกล้องแบบนิ่งๆ วัตถุที่เคลื่อนที่เข้ามาจะเป็นจุดสนใจของผู้ชม หรือบางกรณีเราอาจจะเคลื่อนที่กล้องไปตามวัตถุ เพื่อที่จะสื่อสารถึงอารมณ์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ข้อแนะนำอย่างหนึ่งในการถ่าย คือ ไม่ควรใช้การซูมเข้าซูมออกในขณะถ่าย เพราะจะทำให้คนดูสับสนว่า จุดสนใจในช็อตนั้นมันคืออะไร

- Stop หลังจากที่เราถ่ายได้ช็อตที่เราต้องการแล้ว เราก็จะต้องเคลื่อนที่ไปหาตำแหน่งใหม่อีก เพื่อที่จะไปถ่ายช็อตที่เราต้องการต่อไป ทำอย่างนี้วนไปเรื่อยๆ

7. พยายามให้แสงอยู่ด้านหลังเรา

เดี๋ยวนี้กล้องวีดีโอสมัยใหม่จะมีโหมดการปรับแสงอัตโนมัติ ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปก็จะมีการเปิดรูรับแสงให้เล็กลง ในทางตรงกันข้ามถ้ามีแสงไม่เพียงพอ ก็จะมีการเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น



ระบบกล้องวีดีโอจะเกิดการสับสนถ้าในช็อตเดียวกันมีสภาพแสงที่แตกต่างกันมาก เช่น การถ่ายวีดีโอหมู่นอกอาคาร บางคนที่โดนแดดก็จะสว่างมาก คนไหนที่ไม่โดนแดดก็จะดูมืดเกินไป วิธีเบื้องต้นในการแก้ไข คือ เปลี่ยนตำแหน่งในการถ่าย หรือถ้าไม่สามารถย้ายตำแหน่งได้จริงๆ เราอาจจะใช้วิธีหาอะไรบังคนที่โดนแดด และมีข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่ง คือ เวลาถ่ายวีดีโอ เราควรจะให้แสงอยู่ทางด้านหลังของเรา เพื่อส่องไปยังวัตถุที่อยู่ด้านหน้าของเรา เช่น การถารถ่ายวีดีโอในอาคาร เราไม่ควรจะให้วัตถุอยู่บริเวณริมหน้าต่าง เพราะแสงอาทิตย์จะส่องมาทางด้านหลัง ทำให้เป็นการถ่ายย้อนแสง ผลที่ได้ คือ วัตถุจะมีลักษณะเป็นภาพ Silhouette เงาดำมืด



การถ่ายวีดีโอในสถานที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ การปรับรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะทำให้ภาพสว่างขึ้น แต่ผลที่ได้เพิ่มเติมก็คือ ภาพจะแตกเป้นเม็ดๆ และสีในภาพของเราจะซีด ไม่สดเหมือนกับธรรมชาติทั่วๆไป



8. อย่าใช้ effect ใดๆในกล้องวีดีโอ

เวลาเราถ่ายวีดีโออะไรก็ตาม เราไม่ควรจะใช้ฟังก์ชั่น effect ต่างๆที่กล้องวีดีโอมีให้ เช่น night vision, posterizing, sepia หรืออื่นๆ เพราะว่าเมื่อเราใช้แล้ว เราไม่สามารถที่จะแก้ไขวีดีโออันนั้นให้กลับมาเป็นปกติได้อีก เราควรจะถ่ายวีดีโอแบบปกติธรรมดา เมื่อเราได้ footage นั้นมาแล้ว ค่อยนำไปปรับแต่งแก้ไขในโปรแกรมตัดต่อวีดีโออีกที วิธีการนี้จะช่วยทำให้เราสามารถใช้วีดีโอได้ในหลากหลายสถานการณ์



9. ชนิดของงานแปรผันกับความยาวของวีดีโอทั้งหมด

ในหัวข้อนี้จะพูดถึงเรื่องความยาวของวีดีโอทั้งหมดหลังจากตัดต่อเสร็จแล้ว เราจะต้องคิดและวางแผนตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่า เราถ่ายวีดีโอเพื่อที่จะไปนำเสนออะไร เช่น ถ้าเราถ่ายวีดีโอเพื่อทำ wedding presentation ให้กับคู่บ่าวสาว วีดีโอของเราควรจะมีความยาวไม่เกิน 10 นาที เราก็จะต้องคิดว่าในแต่ละฉาก ควรจะมีความยาวประมาณเท่าไร ฉากสัมภาษณ์ไม่ควรเกิน 2 นาที ฉากริมทะเลประมาณ 3 นาทีประมาณนี้ ถ้าเราทำวีดีโอที่มีความยาวมากเกินไป นอกจากจะทำให้น่าเบื่อแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

10. ไมโครโฟนภายนอกเป็นสิ่งจำเป็น

ปัญหาที่พบกันบ่อยๆในการถ่ายวีดีโอ คือ เรื่องเสียง เพราะว่าส่วนมากแล้วเราจะใช้ไมโครโฟนที่ติดมากับตัวกล้องถ่ายวีดีโอ ผลที่ได้ก็คือ ทั้งเสียงรถ เสียงคนคุยกัน เสียงเด็กร้องไห้ จะมารวมอยู่ในวีดีโอของเราหมด เพราะว่าไมโครโฟนที่ติดอยู่กับตัวกล้องมีลักษณะ คือ รับเสียงจากทุกทิศทางเข้ามาในตัวกล้อง



วิธีแก้ไขง่ายๆคือ เราต้องเอากล้องวีดีโอไปใกล้แหล่งกำเนิดเสียงให้มากที่สุด ซึ่งจริงๆแล้ววิธีนี้ อาจใช้ไม่ได้ในบางกรณี เช่น ผู้พูดอยู่บนเวที เราจึงต้องใช้ไมโครโฟนภายนอก (External Microphone) ช่วยในการบันทึกเสียง เราอาจจะใช้วิธีต่อสายไมโครโฟนเข้ากับกล้องเพื่อบันทึกเสียงโดยตรง หรืออาจจะใช้วิธีบันทึกเสียงแยกต่างหาก แล้วใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนำเสียงนั้นมา Sync กับวีดีโออีกที






ที่มา  http://www.xn--l3cdl7ac1a7b0al6ab0nxc.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86/

เทคนิคการถ่ายภาพ

     รูรับแสงกว้างแต่ค่า f น้อย

          การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับช่างภาพมือใหม่อาจทำให้สับสนอยู่ไม่น้อย เพราะตัวเลขของค่า f จะสวนทางกับความกว้างของรูรับแสง ซึ่งจริง ๆ แล้วค่า f ที่เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ใช่ขนาดจริงของรูรับแสง แต่เป็นอัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์และระยะโฟกัส ซึ่งหากปรับค่า f ที่ 1.8 รูรับแสงจะเปิดกว้างและแสงจะเข้ากล้องมาก ส่วนการปรับที่ F/16 จะเปิดรูรับแสงแคบและช่วยให้แสงเข้าน้อยนั่นเอง

วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายรูป
ภาพจาก nikonusa

           ความกว้างของรูรับแสงส่งผลต่อความชัดของภาพ

          สำหรับคนที่อยากถ่ายภาพแนวหน้าชัดหลังเบลอหรือ Depth Of Field (DOF) ให้ออกมาคมชัดและสวยงามละก็ ควรปรับค่า f ให้ต่ำเพื่อเปิดรูรับแสงให้กว้างเข้าไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแยกส่วนในภาพระหว่างวัตถุที่โฟกัสกับฉากหลัง โดยวัตถุหลักจะคมชัด แต่ฉากหลังจะเบลอ ขณะที่การปรับรูรับแสงให้แคบโดยดันค่า f ให้สูง จะช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดเท่ากันทุกภาพ

           ควรปรับค่ารูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ดี ?
          แน่นอนว่าคนที่หัดเล่นกล้องใหม่ ๆ อาจเคยได้ยินว่าให้ลองปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงาม ซึ่งหลายคนอาจจะงงว่าควรปรับอย่างไรจึงจะพอดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการถ่ายภาพแนวไหน เช่น การปรับความเร็วชัตเตอร์สูง ก็จะเก็บภาพเคลื่อนไหวได้คมชัดทั้งภาพ ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำนั้นช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับภาพราวกับว่ากำลังเคลื่อนที่จริง ๆ ขณะที่การตั้งค่าความกว้างของรูรับแสงจะช่วยปรับความคมชัดและความสว่างให้กับภาพตามค่า f ที่ตั้งไว้

วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายรูป

           ความเร็วชัตเตอร์ที่หลายคนสับสน

          เชื่อว่าบางคนเมื่อเห็นตัวเลข 1/100 วินาที ต้องนึกถึงอะไรก็ตามที่สามารถทำความเร็วได้อย่างยอดเยี่ยม แต่นั่นไม่ใช่กับการถ่ายรูป เพราะแม้แต่ตัวเลข 1/10 หรือ 1/2 วินาที นั้นไม่ได้เร็วอย่างที่คิด ซึ่งเห็นได้ชัดจากการถ่ายภาพน้ำตก ถ้าตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเลขน้อย ๆ ก็จะได้ภาพน้ำตกที่ไหลเป็นธรรมชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับการตั้งค่าแบบตัวเลขเยอะ ๆ ภาพน้ำตกก็จะดูไม่เป็นธรรมชาตินั่นเอง

           ถ่ายภาพในฉากที่มีแสงมาก ๆ แต่ได้ภาพมืด

          ช่างภาพมือใหม่อาจยังงง ๆ ว่าทั้งที่ถ่ายภาพในที่ที่มีแสงสว่างมากแล้ว แต่ทำไมได้ภาพที่ดูมืดเหลือเกิน ซึ่งอาจเป็นเพราะคุณถ่ายภาพย้อนแสงนั่นเอง หรือว่าการถ่ายภาพในที่แสงน้อยกลับได้ภาพที่สว่างเกินไป ซึ่งควรแก้ไขด้วยการใช้ฮิสโตแกรมช่วย เพราะการอ่านฮิสโตแกรมจะช่วยให้คุณรู้ว่าในภาพที่ถ่ายนั้นมีแสงมากน้อยเกินไปหรือไม่

วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายรูป
ภาพจาก joehendricks.photography

           การตั้งค่ากล้องบางรุ่นเพื่อถ่ายภาพแนว Landscape มีความแตกต่างกัน

          ข้อดีของกล้องดิจิตอลสมัยนี้ นอกจากจะถ่ายภาพคมชัดแล้ว ยังมีโหมดการถ่ายภาพให้เลือกใช้มากมาย เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงามโดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้วุ่นวาย เช่น โหมดพอร์เทรต โหมดโคลสอัพ และโหมดไนท์ เป็นต้น แต่สำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศนั้น กล้องดิจิตอลบางรุ่นมีให้เลือกถึง 2 แบบ ซึ่งอาจทำให้หลายคนสับสนทั้ง Landscape Picture Style และ Landscape Scene Mode โดยแบบแรกจะช่วยปรับภาพทั่วไปให้มีอารมณ์คล้ายภาพวิว ส่วนโหมดต่อมาช่วยเพิ่มความคมชัดให้กับภาพแนวแลนด์สเคปได้เป็นอย่างดี

           คุณภาพของไฟล์ภาพ

          ปกติแล้วไฟล์ภาพของกล้องดิจิตอลมีให้เลือกหลายแบบ แต่ชนิดที่ได้รับความนิยมในหมู่ช่างภาพคงหนีไม่พ้น ไฟล์ JPEG และ RAW ซึ่งไฟล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ให้คุณภาพของภาพถ่ายที่แตกต่างกัน โดยไฟล์แบบ JPEG รายละเอียดของภาพจะถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการใช้ภาพทันทีหลังถ่ายเสร็จ ขณะที่ไฟล์ RAW เป็นภาพขนาดใหญ่ที่มีรายละเอียดภาพครบถ้วน เหมาะสำหรับคนที่ต้องแต่งภาพให้สวยงามด้วยโปรแกรมต่าง ๆ

วิธีตั้งค่ากล้องถ่ายรูป
ภาพจาก nikon

           การตั้งค่าระบบออโต้โฟกัส

          ระบบออโต้โฟกัสของกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ One-shot AF (หรือ Single-servo AF) เหมาะกับการถ่ายภาพนิ่ง เพราะกล้องจะจับโฟกัสที่วัตถุหลักและล็อกไว้จนกว่าจะกดชัตเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้ภาพที่คมชัด, AI Servo AF (หรือ Continuous-servo AF) กล้องจะไม่ล็อกโฟกัสไว้กับวัตถุ แต่จะปรับโฟกัสตามวัตถุ ซึ่งเหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง, ส่วน AI Focus AF (หรือ Auto-servo AF) เมื่อใช้โหมดนี้ กล้องจะสลับระหว่างแบบแรกกับแบบที่สองให้เอง

          เป็นอย่างไรบ้างกับเทคนิคการตั้งค่ากล้องทั้ง 8 ข้อที่เรานำมาฝาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่รักการถ่ายรูปไม่มากก็น้อยเนอะ ยังไงก็ลองเอาไปปรับใช้ดูนะ ที่สำคัญ ขยันฝึกถ่ายภาพบ่อย ๆ เพื่อสร้างความคุ้นชินกับกล้องถ่ายรูปเป็นประจำด้วยยิ่งดีครับ

ข้อมูลจาก digitalcameraworld.comphotoventure.com

เทคนิคการถ่ายภาพจากมือถือ



ในปัจจุบันนี้กล้องมือถือ ถือว่าเข้ามาปฎิวัติวงการถ่ายภาพเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อก่อน การถ่ายภาพนั้นเป็นกิจกรรมเฉพาะทางสำหรับผู้ที่สนใจหรือมือโปรเท่านั้น เพราะนอกจากต้องมีกล้องเป็นของตัวเองแล้ว ยังต้องพกกล้องตัวนั้นไปไหนมาไหนอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่อยากพลาดวินาทีสำคัญ

แต่พอกล้องมือถือได้รับการพัฒนาขึ้นมาจนถึงขั้นใช้งานได้ดีพอสมควร ทำให้เสมือนว่าเรากำลังพกกล้องไปทุกที่ทุกเวลา และไม่พลาดที่จะถ่ายภาพในทุกสถานการณ์เลยทีเดียว

วันนี้เราเลยมีทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะพัฒนาการถ่ายภาพจากมือถือของคุณให้ดีขึ้น จนบางทีเพื่อนคุณอาจจะไม่เชื่อก็ได้ว่าภาพเหล่านี้ถ่ายจากมือถือ
1. หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์และปรับโหมดเป็น HDR

สมัยนี้กล้องมือถือจะพยายามใส่ฟังชั่น HDR (High Dynamic Range) เข้ามา ซึ่ง HDR นี้ก็คือการถ่ายโดยเก็บรายละเอียดในภาพทั้งส่วนมืดและสว่างให้มีรายละเอียดครบถ้วน ฉะนั้นหากถ่ายภาพในโหมดนี้แล้ว เราก็จะแก้ปัญหาหน้ามืดเมื่อหันกล้องเข้าหาดวงอาทิตย์ได้ระดับหนึ่งทีเดียว แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด ให้รอช่วงที่พระอาทิตย์กำลังจะตก ช่วงนั้นแสงจะไม่รุนแรงมากนัก ทำให้เราสามารถเก็บภาพที่มีรายละเอียดแสงสีที่สวยงามได้ และยิ่งวันไหนที่ท้องฟ้าเป็นใจ เราก็จะได้ภาพท้องฟ้าสวย ๆ อย่างแน่นอน


2. ถ่ายช่วงเวลาทอง

หลาย ๆ คนพยายามจะถ่ายภาพช่วงกลางวันที่แดดจัด ๆ และเกิดความสงสัยมาตลอดว่า ทำไมภาพที่ถ่ายออกมาดูแข็ง ๆ แสงไม่สวยเลย ดูภาพไม่มีชีวิตชีวา

ให้ลองเปลี่ยนเวลาถ่ายรูปโดยไปถ่ายช่วงเวลาก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่าตอนเย็นนั่นแหละ ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คือราว ๆ 5 โมงเย็น ช่วงเวลานี้ ถ้าเป็นวันที่มีแดด แสงแดดจะนุ่มเนียนตามากกว่าเวลาอื่น ๆ และเมื่อเราถ่ายรูปออกมา ภาพจะออกโทนเหลือง ๆ แดง ๆ คอนทราสของภาพก็จะสวยงามลงตัว เราเรียกเวลาช่วงนี้ว่า เวลาทอง Golden moment


3. ถ่ายช่วงทไวไลท์

ทไวไลท์คืออะไร ? มันคือช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซักพักนึง ถ้าเป็นในประเทศไทย ก็อยู่ที่ราว 15-20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ตกนั่นเอง

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราดูรูปของช่างภาพอาชีพหลายคน ท้องฟ้าในรูปมันเป็นสีฟ้า น้ำเงินสดใส แต่รูปของเราท้องฟ้ากลับดำมืด ทั้ง ๆ ที่เป็นกลางคืนเหมือนกัน คำตอบคือ เพราะเขาถ่ายในช่วงทไวไลท์นี่แหละ

ในช่วงเวลาดังกล่าว สมดุลระหว่างแสงบนท้องฟ้าและแสงไฟในเมืองจะพอดี ทำให้เป็นช่วงที่ถ่ายได้สีสันสวยงามมากที่สุดของวัน ซึ่งช่วงดีที่สุดของทไวไลท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสว่างของเมืองนั้น ๆ ด้วย

ฉะนั้นถ้าอยากถ่ายไฟเมืองแบบสวย ๆ ลองรอหลังพระอาทิตย์ตกดู พอเมืองเริ่มเปิดไฟก็ลองถ่ายดูเลย รับรองว่าได้ภาพน่าประทับใจแน่นอน โดยเฉพาะมือถือรุ่นใหม่ ๆ ก็มักจะถ่ายในที่มืดได้ดีขึ้นมากด้วย เช่น GALAXY S7 Iphone6s


4. หาเนื้อหาเด่นของภาพ

บางทีเราเห็นวิวที่สวยงามและยิ่งใหญ่ก็อยากจะเก็บภาพไปเสียทั้งหมด แต่พอถ่ายภาพออกมากลับดูไม่เหมือนที่เห็นด้วยตาเปล่า ภาพดูว่าง ๆ โล่ง ๆ ไม่น่าสนใจเอาเสียเลย

ฉะนั้นแทนที่เราจะถ่ายแบบจะเก็บทุกอย่าง เราก็เปลี่ยนมาหาจุดเด่นในภาพดีกว่า นอกจากจะทำให้ภาพดูน่าสนใจแล้ว ยังสามารถบ่งบอกสถานที่ที่เราไปเยือนได้ดีกว่าอีกด้วย และถ้ากล้องมือถือมีปัญหาเรื่องการซูมเข้าไปหาเป้าหมาย เราก็ใช้วิธี CROP ภาพทีหลังก็ได้ เพราะกล้องเดี๋ยวนี้ความละเอียดค่อนข้างสูงมากทีเดียว เช่น GALAXY S7 ที่ Dual Pixel 12 ล้านพิกเซล หรือ IPHONE6 ที่ 12 ล้าน ถึงถ่ายมาแล้ว crop ก็ยังละเอียดพอจะลงโซเชียลเนทเวิร์คได้สบาย ๆ


5. เก็บเรื่องราว

บางครั้งภาพที่ดูธรรมดา ๆ แต่พอมีคนมาเดินในภาพ กลับทำให้ภาพเกิดเรื่องราวขึ้นมาได้ ทั้งจาก การแต่งกาย ท่าทาง หรือสายตาของคนเหล่านั้น

ลองพยายามรวมคนหรือสัตว์เข้ามาในภาพดู และพยายามจัดให้คนหรือสัตว์นั้นเป็นจุดสนใจของภาพ จะทำให้ภาพน่าสนใจมากขึ้นเยอะเลย

น่าดีใจที่การเก็บภาพคนและสัตว์ด้วยมือถือนั้นดูเป็นมิตรมากกว่าการแบกกล้องใหญ่ ๆ เข้าไปถ่าย แต่กระนั้นก็ตาม การถ่ายภาพบุคคลแบบใกล้ชิดและดูจงใจก็ควรจะขออนุญาตแบบก่อนทุกครั้ง


6.มือต้องนิ่ง

ปัญหาหลักเลยที่ทำให้ภาพดูไม่น่าประทับใจคือ มือเราดันไม่นิ่ง ยิ่งบางคนไม่ถนัดกับการถ่ายด้วยมือถือเอาซะเลย เพราะมันเล็กเกินไป ฉะนั้น เราต้องมาฝึกถ่ายให้มือนิ่งกัน โดยเริ่มจากลองกลั้นหายใจตอนจะกดถ่ายดูก่อน เพราะส่วนใหญ่จะนิ่งขึ้นพอสมควร หรือหากเป็นช่วงเย็นที่แสงไม่พอ ลองหาพื้นหรือผนังที่แข็งแรง แล้วเอามือถือไปพิงแล้วค่อยถ่าย จะลดอาการสั่นได้ดีทีเดียว หรือหากถึงที่สุดจริง ๆ ให้ใช้ขาตั้งเล็ก ๆ และตั้งเวลาถ่ายเอา คราวนี้ยังไงก็นิ่งแน่นอน


7. ฝึกจัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ

ไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็จัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ ได้ โดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือ กฎ 3 ส่วน แบ่งภาพออกเป็นตาราง โดยใช้เส้นแนวตั้งหรือนอน 3เส้น และพยายามจัดองค์ประกอบให้อยู่ในเส้นเหล่านี้ ซึ่งพอเราใช้ทั้งเส้นแนวนอนและตั้งตีลงไปในรูป จะเกิดจุดตัดขึ้นมา เราเรียกว่าจุดตัดเก้าช่อง เราก็พยายามจุดสำคัญของภาพอยู่ที่จุดตัดทั้ง 4 ก็จะทำให้ภาพสวยขึ้นง่าย ๆ



แต่ แต่ แต่ กฎนี้ก็ไม่ได้ตายตัวขนาดนั้น เราสามารถหาวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้องค์ประกอบดูดีขึ้นได้อีกมากมาย แต่สำหรับผู้เริ่มต้น ยึดหลักการนี้ไว้ก็จะเป็นการง่ายมากกว่า
8. พื้นอย่าเอียง

เวลาที่เรามองภาพเราแล้วรู้สึกแปลก ๆ ชอบกล ให้ดูก่อนเลยเป็นอันดับแรกว่าภาพตรงหรือเปล่า เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่สนใจกันเท่าไหร่เรื่องภาพเอียง เวลาถ่ายออกมาก็ไม่ได้ดูตรงนี้มากนัก แต่จริง ๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความรู้สึกของภาพทีเดียว ฉะนั้นพยายามถ่ายออกมาให้ภาพตรง พื้นตรง จะทำให้ภาพดูดีขึ้นมามากเลยเชียว


9. ใช้ APP

แน่นอนถ้าใช้มือถือถ่าย การใช้ APP ก็เข้ามาช่วยได้อย่างง่ายดาย โดยการปรับหลาย ๆ อย่างที่เราว่ามาข้างต้น เช่น การจัดองค์ประกอบ การแก้พื้นเอียง หรือปรับแสงสีเล็กน้อย ก็สามารถทำได้ใน APP นี่แหละ และเราขอแนะนำ SNAPSEED APP ที่ใช้งานง่ายและฟรี สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างหลากหลาย ควรเก็บไว้ประจำเครื่องเลย


10. เรียนรู้มือถือตัวเองให้หมดทุกด้าน

นักดาบที่ดีควรจะรู้จักดาบของตัวเองทุกซอกมุม ถ้าจะถ่ายภาพด้วยมือถือเราก็ต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน ไม่ว่าจะความละเอียดเท่าไหร่ ถ่ายแบบไหนได้บ้าง ซูมแล้วภาพแตกไหม ถ่ายในที่มืดดีหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งข้อจำกัด และตัวสร้างไอเดียใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพได้เสมอ ฉะนั้น ศึกษาอาวุธคู่กายของเราให้ดี และอย่าลืม … ทำความสะอาดเลนส์บ่อย ๆ ด้วยล่ะ เพราะบางคนถ่ายภาพออกมามัวตั้งเป็นปี แล้วนึกว่าเป็นที่กล้อง แต่ที่แท้ เลนส์มีรอยนิ้วมือนี่เอง …



เป็นอย่างไรกันบ้างกับหลักการถ่ายภาพท่องเที่ยวด้วยมือถือแบบคร่าว ๆ หวังว่าคงจะพอเป็นพื้นฐานให้ทุกท่านได้นำไปทดลองฝึกกันได้บ้าง เพราะจริง ๆ หลักการพวกนี้ส่วนใหญ่ก็นำมาจากหลักการถ่ายภาพทั่วไปของกล้องใหญ่นั่นแล ฉะนั้น ฝึกกับมือถือในตอนนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจจะได้นำไปใช้กับกล้องแบบมืออาชีพก็ได้นะ

ที่มา  https://travelkanuman.com/tips/8-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97/